วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

บทความที่่ 4 ปัญหาการรับจำนำข้าว


บทความที่่ 4

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026008 กลุ่มเรียนที่ 1
ชื่อ นางสาว กาญจนา นาชัยพลอย รหัสนิสิต 54010917837(AC)
คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาบัญชี

                                                                                       
ปัญหาการรับจำนำข้าว
                               นโยบายการรับจำนำข้าวเป็นนโยบายที่ ทุกคนหรือทุกฝ่ายสนใจเกี่ยวกับโครงการนี้ว่าเป็นยังไงบ้าง และในโครงการนี้จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด แล้วจะช่วยแก้ไขเรื่องราคาข้าวที่ถูกได้จริงหรือไม่  โครงการนี้จะมีความเป็นไปได้สูงขณะไหนที่จะมีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว  การรับจำนำข้าวของรัฐบาลชุดนี้นั้นรับจำนำในราคาที่สูงกว่าราคาขายหรือไม่ ซึ่งโครงการรับจำนำข้าวนั้นมีปัญหาเกิดขึ้นมานานแล้ว และก็มีการทุจริตในโครงการนี้มาตลอด   ซึ่งหลายฝ่ายมองเห็นว่าโครงการนี้ไม่ถูกต้องเพราะว่าจะทำให้กลไกลตลาดเปลี่ยนไป และราคาหรือคุณภาพข้าวของไทยจะทุกลงหรือคุณภาพต่ำลงมากน้อยคณะไหน การส่งข้าวออกนั้นเรายังมีคู่แข่งอีกหลายประเทศ ถ้าประเทศไทยยังไม่มีการปรับปรุงคุณภาพข้าว ไทยก็จะเสียเปรียบการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน  และคนทั่วโลกก็จะหันไปซื้อข้าวจากเพื่อนบ้าน เปล่า  ถ้าปัญหาการซื้อขายข้าวยังเป็นแบบนี้ต่อไป และยังมีการทุจริตต่อไปเรื่อยๆ จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศต่อไปเปล่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งข้าวออกเป็นต้นๆของโลกก็ว่าได้  ถ้าข้าวส่งออกไม่ดีจะส่งผลต่อเกษตรกรมากน้อยคณะไหน รัฐบาลรู้ดีครับ
  
 ปัญหาการรับจำนำข้าว
                นับเป็นสัญญาณการเตือนครั้งสุดท้ายจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่เตรียมส่งเรื่องถึง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ทบทวนโครงการรับจำนำข้าว หาทางอุดช่องโหว่ปิดทางทุจริตที่เริ่มผุดมากขึ้นเรื่อยๆ
                ไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.เคยทำข้อเสนอไปยัง รัฐบาลขอให้ทบทวนโครงการรับจำนำข้าว เพราะเปิดช่องให้เกิดการทุจริตได้ง่าย ท่ามกลางกระแสข่าวระแคะระคายว่ามีความผิดปกติ เริ่มเกิดขึ้นในหลายพื้นที่
แต่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ กลับเมินเฉย และยังยืนยันเดินหน้าฝ่าแรงเสียดทานเดินหน้าโครงการรับจำนำข้าวพร้อมการันตีว่าเป็นนโยบายที่ดี มีวัตถุประสงค์ต้องการยกระดับราคาสินค้าเกษตร ช่วยพี่น้องเกษตรกร
แม้จะยอมรับกลายๆ เรื่องความไม่โปร่งใส แต่ก็ปัดให้เป็นเรื่องขั้นตอนการปฏิบัติงาน พร้อมโยนให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ เข้าไปตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสถูกต้อง
ทว่ายิ่งเดินหน้า เสียงวิพากษ์วิจารณ์ยิ่งรุนแรง ทั้งในแง่ของความคุ้มค่ากับงบประมาณที่บานไปถึง 4.5 แสนล้านบาท การเปิดช่องให้เกิดการทุจริตในแทบจะทุกขั้นตอน มีเม็ดเงินตกไปถึงมือชาวนาเพียงแค่ 37% ตามข้อสังเกตจากนักวิชาการ
ยังไม่รวมกับประเด็นเรื่องการระบายข้าวจนไทยต้องเสียแชมป์การส่งออกให้เวียดนามและปมปัญหาเรื่องการสวมสิทธิ เวียนเทียน ลักลอบนำเข้าจากชายแดนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ จนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่หลายจุดเพื่อตรวจสอบความโปร่งใส
                นับเป็นสัญญาณการเตือนครั้งสุดท้ายจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่เตรียมส่งเรื่องถึง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ทบทวนโครงการรับจำนำข้าว หาทางอุดช่องโหว่ปิดทางทุจริตที่เริ่มผุดมากขึ้นเรื่อยๆ
ไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.เคยทำข้อเสนอไปยัง รัฐบาลขอให้ทบทวนโครงการรับจำนำข้าว เพราะเปิดช่องให้เกิดการทุจริตได้ง่าย ท่ามกลางกระแสข่าวระแคะระคายว่ามีความผิดปกติ เริ่มเกิดขึ้นในหลายพื้นที่
ทว่ายิ่งเดินหน้า เสียงวิพากษ์วิจารณ์ยิ่งรุนแรง ทั้งในแง่ของความคุ้มค่ากับงบประมาณที่บานไปถึง 4.5 แสนล้านบาท การเปิดช่องให้เกิดการทุจริตในแทบจะทุกขั้นตอน มีเม็ดเงินตกไปถึงมือชาวนาเพียงแค่ 37% ตามข้อสังเกตจากนักวิชาการ
ยังไม่รวมกับประเด็นเรื่องการระบายข้าวจนไทยต้องเสียแชมป์การส่งออกให้เวียดนามและปมปัญหาเรื่องการสวมสิทธิ เวียนเทียน ลักลอบนำเข้าจากชายแดนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ จนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่หลายจุดเพื่อตรวจสอบความโปร่งใส
                เที่ยวนี้ วิชา มหาคุณกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างให้ศูนย์วิจัยเพื่อต่อต้านการทุจริต ป๋วย อึ๊งภากรณ์ของ ป.ป.ช. ที่มีนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ไปศึกษาและหาข้อสรุป ก่อนจะส่งจดหมายเตือนไปถึงรัฐบาลเป็นครั้งที่ 2 ว่าโครงการการรับจำนำข้าวนั้น ได้เกิดปัญหาการทุจริตในขั้นตอนใดบ้าง
หากรัฐบาลยังปล่อยให้เกิดการทุจริตจำนำข้าวขึ้น ป.ป.ช.ก็จะพิจารณาว่าเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่
งานนี้จึงอาจทำให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ รวมไปถึง ครม.ทั้งคณะต้องกลับมาทบทวนอย่างหนักว่าจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไปท่ามกลางความสุ่มเสี่ยงต่อไปหรือไม่
เพราะเที่ยวนี้ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบ ตัดตอนว่าไม่รู้ไม่เห็นการทุจริตที่จะเกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าวต่อจากนี้ได้อีกต่อไป
               ย้อนไปดูการดำเนินการตลอดปีกว่าที่ผ่านมา มีแต่กระแสข่าวการทุจริต ความไม่โปร่งใสให้ได้ยินอย่างต่อเนื่อง แต่ละเสียงที่ออกมาทักท้วง ล้วนแต่เป็นคนระดับแถวหน้าของสังคม
ทั้ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกฯ และ รมว.คลัง อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
จนมาถึงกลุ่มนักวิชาการและนักศึกษา 146 คน นำโดย อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยาคณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า เข้ายื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยว่านโยบายรับจำนำข้าว ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 43 และมาตรา 84 (1) หรือไม่ ซึ่งบัญญัติให้รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรม และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน
ถึงจะมีปัญหาเรื่องเอกสารในตอนแรก แต่สุดท้ายก็ยื่นเพิ่มสำเนาเอกสารจำนวน 9 ชุด ครบทั้งหมดแล้ว ครบถ้วนตามระเบียบของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
รอดูแค่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะหยิบขึ้นมาพิจารณาในการประชุมวันที่ 10 ต.ค.ทันหรือไม่เท่านั้น
เรื่องนี้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อรัฐบาลไม่น้อย จับอาการได้จากมีคนในพรรคเพื่อไทยหลายกลุ่มหลายก๊วนออกมาถล่มพวกต่อต้านจำนำข้าว ตามด้วยการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงที่นำเกษตรกรชุมนุมต่อต้านนิด้า
ไม่เพียงเท่านี้ รัฐบาลยังถูกท้าทายจากคนในด้วยกันเองอย่าง ดร.โกร่งวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตแห่งชาติ (กยอ.) ออกมาวิพากษ์โครงการรับจำนำข้าวว่า อันตรายที่สุด
ถ้ารัฐบาลจะพังก็เรื่องโครงการรับจำนำข้าว
               แต่จนแล้วจนรอด ยิ่งลักษณ์ ยังคงเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องหลายฝ่ายพอสมควร
สอดรับกับท่าทีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายใหญ่ตัวจริง ได้ประกาศผ่านสื่อต่างประเทศ สนับสนุนให้รัฐบาลของน้องสาวเดินหน้านโยบายจำนำข้าวต่อไป
เราไม่ได้โยนเงินทิ้งเปล่าๆ โครงการดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายข้าวในสต๊อก อีกทั้งเพิ่มการบริโภคภายในประเทศ และช่วยประคับประคองประเทศไทยจากผลกระทบของวิกฤตหนี้ในยุโรปไฟเขียวสำคัญจากนายใหญ่
เมื่อนายใหญ่และนายกฯ ส่งสัญญาณให้นโยบายจำนำข้าวเป็นน้ำมันขับเคลื่อนรัฐบาลต่อ ย่อมเอื้อให้บรรดากองทัพเพื่อไทยต่างออกตบเท้าเดินหน้าลุยพวกต่อต้านนโยบายนี้อย่างถึงพริกถึงขิง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตอนนี้ประเด็นเรื่องจำนำข้าวยังไม่สะท้านรัฐบาล แต่อีกไม่นานสถานการณ์จะเข้มข้นขึ้นจากการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเตรียมใช้เป็นตัวชูโรงถล่มรัฐบาลในช่วงกลางเดือน พ.ย.
หวังถึงขั้นเป็นประกายไฟให้เกิดกระแสต่อต้านการทุจริตของรัฐบาลนอกสภา
เพราะฉะนั้น การดึงดันเดินหน้าโครงการรับจำนำข้าวนับจากนี้ต่อไป จึงไม่ต่างอะไรกับเส้นทางเสี่ยงของรัฐบาล โดยเมื่อใดเกิดพลาดพลั้งขึ้นมา ถึงเวลานั้นย่อมสะเทือนต่อเก้าอี้นายกฯ และเสถียรภาพของรัฐบาลอย่างไม่อาจปฏิเสธได้

               รัฐบาลเดินหน้าโครงการเพื่อช่วยเหลือชาวนา ก็จะต้องรับซื้อข้าวเข้ามาแล้วประมูลขายออกไปอย่างโปร่งใส โดยราคาที่ประมูลน่าจะใกล้เคียงกับตลาดโลก วิธีการนี้อย่างไรเสียรัฐบาลขาดทุนแน่นอน
แต่หากไม่มีการทุจริต เงินส่วนต่างจะไปตกอยู่กับชาวนา ถ้าขาดทุนโดยโปร่งใสถือเป็นสิ่งที่ยอมรับได้มากกว่าการขาดทุนแบบทุจริต
เชื่อว่าน่าจะขาดทุน 1 แสนล้าน มากกว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ขาดทุน 7 หมื่นล้าน เพราะรัฐบาลนี้ตั้งราคารับจำนำไว้สูงกว่า แต่ถ้ารัฐบาลให้สัญญาไว้ตอนหาเสียงก็ถือว่าแฟร์ที่จะทำ
รัฐบาลควรคำนึงถึงปัญหาระยะยาว เพราะโครงการแทรกแซงมีปัญหาอยู่แล้ว อาจต้องปรับบางเรื่อง เช่น ลดราคาจำนำข้าว หรือเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นที่ไม่ต้องจัดการเรื่องซื้อขายข้าวเอง เพราะรัฐบาลไม่มีความสามารถเรื่องนี้
รวมทั้งปัญหาจากระเบียบราชการบางอย่างที่อาจทำให้เกิดปัญหา เช่น การเก็บข้าวไว้ไม่กล้าขาย เพราะราคาตกต่ำจนข้าวเสียหายไม่สามารถขายได้
มีข้อสังเกตว่าระยะหลัง ความขัดแย้งการเมืองกลายเป็นเรื่องใหญ่ เปลี่ยนรัฐบาลใหม่แต่ละครั้ง รัฐบาล ปัจจุบันก็มักไม่ยึดหรือดำเนินนโยบายหรือโครงการตามรัฐบาลเก่า ทั้งที่หลายโครงการ หากดำเนินต่อเนื่องจะพัฒนาหรือเดินหน้าไปได้ไกล

               นโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล
            “จำนำข้าวเกวียนละ 15,000 บาทอีกหนึ่งนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ก่อนหน้าที่จะได้เข้ามาเป็นรัฐบาลนั้น ได้หาเสียงกับชาวนาถึงการรับจำนำข้าวในราคาที่สูงกว่าเดิม ทำให้นโยบายนี้เป็นที่สนใจ ตลอดจนเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านถึงผลกระทบต่างๆนานา
            จำนำข้าว ปะทะประกันราคาข้าว ทั้งสองนโยบายนี้จึงถูกนำมาเปรียบเทียบโดยทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ 
โครงการประกันราคา
            โครงการประกันราคา เป็นโครงการที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เพื่อแก้ ปัญหาการคอรัปชันจากการรับจำนำจากรัฐบาลชุดก่อน เพื่อเป็นการประกันว่า
เกษตรกรจะขายข้าวได้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท และอาจจะปรับขึ้นในปีต่อไป
ข้อดี : โครงการประกันราคา
            - เป็นการประกันว่าชาวนาจะขายข้าว ได้ไม่ต่ำกว่าหมื่นบาท (และจะปรับขึ้น ในปีต่อไป) แม้ว่าราคาข้าวในท้อง ตลาดจะเป็นเท่าไรทางรัฐจะชดเชยส่วนที่ขาดหายไปให้
            - จำนวนเกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้มากกว่า
            - ราคาข้าวจะเป็นไปตามกลไกตลาดไม่มีการบิดเบือน
            - ปัญหาทุจริตคอรัปชันจากเจ้าหน้าที่รัฐมีน้อยมากเพราะเงินสู่มือชาวนาโดยตรงผ่านธนาคาร ธ.ก.ส.
            - แม้เกิดภัยพิบัติจากน้าท่วม,ศัตรูพืช ระบาดชาวนาก็จะยังได้ส่วนต่างแม้ไม่มีผลผลิต
ข้อเสีย : โครงการประกันราคา
            - รัฐต้องจ่ายเงินไปสู่เกษตรโดยตรง ทำให้รัฐต้องจ่ายเงินเพื่อการนี้เป็นจำนวนมากโดยไม่ได้อะไรกลับมา
            - มีการแจ้งการทำนาที่เป็นเท็จ เช่นทำนา 10 ไร่บอกว่า 20 ไร่ แม้จะมีประชาคมแต่บ้างครั้งต่างก็เกรงใจกันไม่กล้าคัดค้านหรืออาจเนื่องจากต่างคนต่างแจ้งเท็จด้วยกัน
            - ทำให้ราคาข้าวไม่ขึ้นเกินหนึ่งหมื่น บาทเพราะพ่อค้ารับซื้อรู้ว่ารัฐจ่ายส่วนต่างให้เกษตรแล้วเหมือนรัฐกดราคาข้าวไม่ให้เกินหนึ่งหมื่นบาท
            - การจ่ายเงินส่วนต่างจะจ่ายให้แค่25 ตัน ถ้าใครได้เกินกว่า 25 ตัน ไม่ได้รับส่วนต่าง
            - คิดให้ผลผลิตข้าวที่ 500 กก. ต่อไร่ ถ้าใครทำได้มากกว่านั้นก็ไม่ได้
โครงการรับจำนำข้าว : โครงการรับจำนำ
            โครงการรับจำนำข้าว เป็นโครงการที่เกิดขึ้นในสมัยพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล และมาหยุดโครงการดังกล่าวในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่า มีช่องโหวในเรื่องของการคอรัปชัน ในขณะที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้ก้าวเข้ามาครั้งนี้ จึงนำนโยบายดังกล่าวกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง
ข้อดี
            - จากการประกาศจำนำราคาข้าวที่ 15,000 บาท ชาวนาจะได้รับเงิน 15,000 เลย (กรณีข้าวมีความชื้นที่15 เปอร์เซนต์) ซึ่งเป็นเงินสด
            - ชาวนา มีข้าวเท่าไรก็ขายได้ตาม จำนวนผลผลิตที่ได้ เช่น หากทำนา มีข้าว 10 ตัน ก็ได้ทั้ง 10 ตัน เป็นเงิน 150,000 บาท
            -ชาวนาจะได้รับเป็นเงินสดทันทีเมื่อขายข้าว
            - จะทำให้ ราคาข้าวในท้องตลาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากถ้าพ่อค้าไม่รับซื้อ ในราคาสูงก็ไม่มีข้าวขายเพราะรัฐจะซื้อเองหมด
            - รัฐบาลสามารถควบคุมราคาซื้อ-ขาย ข้าวได้ (ในการส่งออกและบริโภคภาย ในประเทศ)
ข้อเสีย : โครงการรับจำนำ
            - จากอดีตที่ผ่านมามีการคอรัปชันสูง ทำให้รัฐต้องขาดทุนปีละหลายหมื่น ล้าน
            - รัฐอาจต้องสร้างโกดังไว้เก็บข้าวเอง จำนวนมาก
            - เป็นการ บิดเบือนกลไกตลาดทำให้ รัฐต้องใช้เงินจำนวนมากไปซื้อข้าวซึ่ง รัฐไม่น่าจะมีเงินมากมาซื้อข้าวชาวนาได้ทั้งหมดในกรณีที่พ่อค้าไม่รับซื้อข้าวแข่ง
            - รัฐต้องเสียเงินจำนวนไม่น้อยในการสต๊อกข้าวและรักษาคุณภาพข้าวจำนวนมากถ้าขายข้าวไม่ได้
            - อาจมีข้าวจากต่างประเทศเข้ามาสวมสิทธิ์

                นโยบายจำนำข้าวของ พรรคเพื่อไทย เป็นนโยบายสำคัญนโยบายหนึ่ง โดยจะรับจำนำข้าวขาว 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิ 20,000 บาท ที่ความชื้น 15%
                นโยบายนี้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่าจะทำให้เกิดการโกงกันมโหฬาร ผู้ได้ประโยชน์ที่แท้จริงคือโรงสี ข้าราชการทั้งประจำและนักการเมือง รัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมากแล้วจะเอาเงินมจากไหนหรือจะใช้วิธีกู้ และจะทำให้ราคาข้าวในประเทศสูงขึ้นจะเป็นภาระกับประชาชนผู้บริโภค ฯลฯปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นประเด็นที่รัฐจะต้องแก้ปัญหา และให้คำตอบต่อประชาชน
                ประเทศไทยมีผลผลิตข้าวประมาณปีละ 30-35 ล้านตัน แปรรูปเป็นข้าวสารได้ประมาณ 20 กว่าล้านตัน ใช้ในการบริโภคภายในประเทศประมาณ 10 ล้านตัน ที่เหลืออีกประมาณ 10 ล้านตันส่งออก
                ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ เป็นข้าวประมาณ 31 % ของทั้งโลก และเป็นข้าวคุณภาพสูง มีเวียตนามเป็นคู่แข่งสำคัญมีปริมาณส่งออกประมาณ 20% แต่มีคุณภาพข้าวต่ำกว่าข้าวไทย เมื่อรวมทั้งสองประเทศแล้วเป็นข้าวในตลาดโลกถึงประมาณ 50%
                ด้วยสภาพการอย่างนี้ถ้าไทยกับเวียตนามจับมือกันได้ก็จะสามารถกำหนดราคาข้าวในตลาดโลกได้ แต่ยังไม่มีการเจรจากันอย่างจริงจัง ซึ่งรัฐบาลนี้จะต้องทำการเจรจาเรื่องนี้ให้จริงจัง ๆ และบังเกิดผลในทางปฏิบัติให้ได้
                เหมือนในอดีตที่ราคายางในประเทศกิโลกรัมละประมาณ 20-30 บาท เกษตรกรผู้ทำสวนยางไม่ได้กำไร บ้างครั้งต้องขาดทุน  แต่เมื่อมาถึงยุครัฐบาลทักษิณได้ทำการเจรจากับมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศที่ปลูกยางมากพอ ๆ กับไทย เมื่อทั้งสองประเทศจับมือกันได้ ราคายางจึงสูงขึ้นมาเป็นลำดับ จนปัจจุบันนี้ราคายางราคาเกิน 100 บาทแล้ว ชาวสวนยางรวยไปตาม ๆ กัน
                ตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งคือกลุ่มโอเปคที่สามารถจับมือกันได้และสามารถกำหนดราคาน้ำมันตลาดโลกได้ทั้งที่รวมกันตั้งหลายประเทศยังสามารถรวมกลุ่มกันได้ นี่เรากับเวียตนามแค่สองประเทศไม่น่าเป็นเรื่องยากในการเจรจาเพราะได้ประโยชน์แก่ชาวนาที่เป็นกลุ่มคนยากจนของประเทศและเป็นคนส่วนใหญ่ที่รัฐบาลควรจะต้องดูแลเป็นพิเศษ
                ปัจจุบันความต้องการข้าวในตลาดโลกประมาณ 30-35 ล้านตัน ขึ้นอยู่กับปริมาณข้าวที่ปลูกได้ของแต่ละประเทศ แต่การคาดการความต้องการข้าวในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากประเทศฟิลิปินส์ และสหรัฐอเมริการเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ และอินเดียเกิดภาวะแห้งแล้ง 
                ในขณะที่ประเทศของเราเอง และประเทศเวียตนามก็เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่เกือบทั่วประเทศทำให้ปริมาณข้าวลดลง  ในเมื่อความต้องการมากขึ้นในขณะที่มีข้าวน้อยลง ราคาก็จะสูงขึ้นเป็นธรรมดา
                เป็นผลให้ราคาในตลาดโลกปีนี้จะสูงขึ้นจนอาจให้รัฐบาลมีกำไรจากการขายข้าว ซึ่งเท่ากับว่าไม่ต้องใช้วงประมาณในการรับซื้อชาวนาในปีต่อไป ทำให้รัฐได้กำไรจากการส่งออกข้าว ก็จะมีเงินเหลือกลับมาเป็นงบประมาณในการบริหารประเทศต่อไป 
                ราคาข้าวในตลาดโลกก่อนเลือกตั้ง (วันที่ 27 มิ.ย. 2554) ราคาข้าวขาว 100% อยู่ที่ 506 เหรียญต่อตัน ข้าวขาว 5% อยู่ที่ 476 เหรียญต่อตัน   แต่วันนี้เมื่อรัฐบาลประกาศจะเริ่มรับจำนำข้าวในวันที่ 7 ต.ค. 255429 ก.พ. 2555 ราคาข้าว 100% เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 613 เหรียญต่อตัน ข้าวสาร 5% เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 555 เหรียญต่อตัน
จะเห็นว่าแค่รัฐบาลไทยประกาศจะรับจำนำข้าว 15,000 บาทต่อตัน ก็ทำให้ราคาข้าวตลาดโลก (เอฟโอบี) เพิ่มขึ้นประมาณ 100 เหรียญต่อตันแล้ว
                ซึ่งแสดงให้เห็นว่าราคาข้าวในประเทศของเราเป็นตัวกำหนดราคาในตลาดโลกได้ ยิ่งถ้าเราจับมือกับเวียตนามได้ก็จะสามารถกำหนดราคาข้าวในตลาดโลกอย่างเบ็ดเสร็จ
                เพราะตลาดโลกยอมทราบว่าเมื่อราคาข้าวในประเทศไทยเพิ่มขึ้นย่อมไม่ขายข้าวในราคาที่ขาดทุนเป็นแน่ ถ้าไทยไม่ขายข้าวจะทำให้ข้าวหายไปจากตลาดโลกทันที 10 ล้านตัน ซึ่งในความเป็นจริงไม่ต้องทำถึงขนาดนั้น เพียงแต่เราลดปริมาณส่งออกให้น้อยลงจนไม่พอความต้องการหลายประเทศอาจต้องเข้ามาเจรจาซื้อข้าวจากเราโดยตรงอาจเป็นแบบรัฐต่อรัฐ เราก็สามารถกำหนดราคาได้แม้ว่าทุกประเทศจะรู้ว่าไทยมีข้าวในสต็อกมากก็ตาม แต่ข้าวเป็นสิ้นค้าที่เก็บไว้ได้ 2-3 ปี แต่ก็มีข้อกังวลเรื่องสต็อกจำนวนมากจะเอาไปเก็บไว้ที่ไหน จากการสำรวจโรงสีทั่วประเทศสามารถสต็อกข้าวได้เกือบ 100 ล้านตันข้าวเปลือก
                และถ้าเกิดปัญหาเรื่องระบายข้าวส่งออกได้น้อยลง รัฐอาจให้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกข้าวในฤดูแล้ง ส่งเสริมให้หันไปปลูกพืชชนิดอื่น ๆ เช่นถั่วเหลืองซึ่งใช้ทำอาหารสัตว์ และน้ำมัน ที่ไทยขาดแคลนต้องนำเข้าปีละหลายแสนตัน โดยรัฐจะใช้วิธีรับจำเหมือนข้าวโดยให้เกษตรการมีรายได้สูงเหมือนขายข้าว เกษตรกรก็จะหันมาปลูกถั่วกันมาก ทั้งพืชตระกูลถั่วก็เป็นปุ๋ยพืชสดชั้นดีที่ช่วยปรับปรุงดินทำให้การปลูกข้าวในฤดูต่อไปได้ผลผลิตสูงขึ้น เหมือนที่กลุ่มโอเปคลดการกลั่นน้ำมันลงเพื่อให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นเพราะเมื่อน้ำมันขาดตลาด ราคาน้ำมันก็จะสูงขึ้นจึงค่อยเพิ่มกำลังการผลิต
                ส่วนที่มีคนเป็นห่วงว่าประเทศต่าง ๆ จะหันมาปลูกข้าวและพัฒนาข้าวเพิ่มขึ้นเพื่อเอาไว้กินเองในประเทศ หรือแม้แต่หันไปหาอาหารอย่างอื่นเช่นข้าวสาลี ก็ไม่ใช้ทำได้ง่าย ๆ เหมือนน้ำมันที่ราคาแพงขึ้น ทุกประเทศหันมาหาน้ำมันทดแทนกันเกือบทุกประเทศแต่ก็ไม่ทำให้ราคามันลดลง เพราะน้ำมันทดแทนเอาเข้าจริง ๆ ยังมีต้นทุนสูงกว่าน้ำมัน
                อีกประการหนึ่งปริมาณข้าวในแต่ละประเทศที่ปลูกไว้กินเองบ้างปีก็ไม่เพียงพอต่อการบริโภคเนื่องจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ เช่นภัยแล้ง น้ำท่วม ซึ่งนับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในเกือบทุกประเทศ ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ในหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ผลผลิตลดลง ในขณะที่ประชากรมนุษย์นับวันจะเพิ่มมากขึ้น ความต้องการข้าวจึงมากขึ้นทุกปี
              
              ในกรณีปัญหาเรื่องโรงสีที่อาจมีการโกงด้วยวิธีการต่าง ๆ อันนี้รัฐบาลได้ต้องกำหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้ให้ดี เช่นมีบริษัทตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพไม่ร่วมมือกับโรงสี อาจให้บริษัทต่างประเทศเป็นผู้ตรวจสอบ ป้องกันการเอาข้าวออกมาหมุนเวียน
การรักษาคุณภาพข้าว เรื่องคลังเก็บข้าวกลาง หรือตามโรงสีต่าง ๆ ซึ่งต้องคัดเลือกโรงสีที่ดีมีความซื่อสัตย์ และมีมาตรการลงโทษที่รุนแรง
ส่วนที่กลัวว่าโรงสีจะเอาข้าวมาสวมสิทธิ์คงไม่สามารถทำได้เนื่องจากรัฐรับซื้อข้าวของชาวนาทั้งหมด โรงสีจึงไม่มีข้าวมาขาย ยกเว้นจะซื้อแข่งกับรัฐซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ชาวนาจะขายให้ในราคาที่ถูกกว่าที่รัฐรับจำนำ ยกเว้นจะซื้อข้าวในราคาที่สูงกว่า อีกประการหนึ่งคือบัตรเครดิตชาวนาจะแสดงตัวตนของชาวนาซึ่งไม่มีใครจะสวมสิทธิได้ เพราะรัฐจะควบคุมชาวนาด้วยระบบบัตรเครดิตนี้
                ปัญหาเดิม ๆ ที่ชาวนาขายใบประทวนก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะรัฐรับซื้อข้าว ทั้งหมดจึงไม่จำเป็นต้องขายใบประทวนเหมือนในอดีตที่กำหนดปริมาณข้าวที่จำนำ
การประมูลข้าวสำหรับพ่อค้าส่งออกจะต้องไม่ให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่น และรัฐบาลต้องเป็นผู้ค้าข้าวเองแบบจีทูจี คือรัฐบาลต่อรัฐบาลโดยตรงจะช่วยไม่ให้เกิดการคอรัปชั่น  และต้องลงโทษผู้ที่ทุจริตอย่างจริงจัง เช่น ไล่ออก ปลดออก และดำเนินคดีอาญาด้วย
                อีกมาตรการหนึ่งได้ข่าวว่ารัฐจะตั้งบริษัทค้าข้าวขึ้นมาเป็นรูปรัฐวิสาหกิจแบบการไฟฟ้า การประปา ทำให้สามารถกำหนดราคาในตลาดได้ ส่วนข้อกังวลเกี่ยวกับราคาข้าวภายในประเทศจะสูงขึ้น ผมขอเสนอให้รัฐใช้วิธีแบ่งตลาดข้าวออกเป็น สองตลาดคือข้าวในประเทศควรมีราคาถูกเนื่องจากเราเป็นผู้ผลิตข้าวได้เองไม่ควรต้องกินข้าวตาม ราคาตลาดโลก ส่วนมาตรการธงฟ้าเห็นว่าไม่ครอบคลุมทั้งประเทศ ผู้ที่ซื้อข้าวธงฟ้าก็เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่รัฐไปเปิดบริการเท่านั้น จึงสมควรที่จะกำหนดราคาข้าวในประเทศให้เหมาะสมไม่เป็นภาระแก่ผู้บริโภคในกรณีนี้มีตัวอย่างเช่นมาเลเซียก็ให้ผู้ใช้น้ำมันในประเทศถูกว่าตลาดโลกตามประเด็นต่าง ๆ ที่ผมนำเสนอมานี้แม้จะเป็นการมองโลกในแง่ดีเกินไป แต่ก็มีความเป็นไปได้สูง ถ้ารัฐมีการบริหารจัดการที่ดีและโปร่งใสต่อไป

บทสรุป
                นโยบายการรับจำนำข้าวของรัฐบาลชุดนี้มี  
ข้อดี คือ
            - จำนวนเกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้มากกว่า
            - ราคาข้าวจะเป็นไปตามกลไกตลาดไม่มีการบิดเบือน
            - ปัญหาทุจริตคอรัปชันจากเจ้าหน้าที่รัฐมีน้อยมากเพราะเงินสู่มือชาวนาโดยตรงผ่านธนาคาร ธ.ก.ส.
            - แม้เกิดภัยพิบัติจากน้าท่วมศัตรูพืช ระบาดชาวนาก็จะยังได้ส่วนต่างแม้ไม่มีผลผลิต
ข้อเสียคือ 
            - รัฐต้องจ่ายเงินไปสู่เกษตรโดยตรง ทำให้รัฐต้องจ่ายเงินเพื่อการนี้เป็นจำนวนมากโดยไม่ได้อะไรกลับมา
            - มีการแจ้งการทำนาที่เป็นเท็จ เช่นทำนา 10 ไร่บอกว่า 20 ไร่ แม้จะมีประชาคมแต่บ้างครั้งต่างก็เกรงใจกันไม่กล้าคัดค้านหรืออาจเนื่องจากต่างคนต่างแจ้งเท็จด้วยกัน
            - ทำให้ราคาข้าวไม่ขึ้นเกินหนึ่งหมื่น บาทเพราะพ่อค้ารับซื้อรู้ว่ารัฐจ่ายส่วนต่างให้เกษตรแล้วเหมือนรัฐกดราคาข้าวไม่ให้เกินหนึ่งหมื่นบาท
            - การจ่ายเงินส่วนต่างจะจ่ายให้แค่25 ตัน ถ้าใครได้เกินกว่า 25 ตัน ไม่ได้รับส่วนต่าง
            - คิดให้ผลผลิตข้าวที่ 500 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าใครทำได้มากกว่านั้นก็ไม่ได้
ซึ่งรัฐบาลยังต้องมีความโปรงใสในโครงการนี้ โครงการรับจำนำข้าวเป็นการรับจำนำข้าวที่รัฐบาลซื้อมาในราคาที่สุดกว่าราคาขาย รัฐบาลจะต้องดูแลรักษาที่ซื้อมาให้อยู่คุณภาพดี  และไม่เสียหายและต้องมีมาตรการดูแลการรับจำนำข้าวที่เข้มงวดมากกว่านี้   การทุจริตในโครงการนี้ก็จะน้อยลง ปัญหาต่างๆตามมาก็จะน้อยลงด้วย
อ้างอิง    
 http://www.dit.go.th/contentmain.asp?typeid=8&catid=144


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น