วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

บทความที่ 2ปัญหาสิทธิในการทำงานของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้ามือง


บทความที่ 2

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026008 กลุ่มเรียนที่ 1
ชื่อ นางสาว กาญจนา นาชัยพลอย รหัสนิสิต 54010917837 (AC)
คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาบัญชี
                                         
          ปัญหาสิทธิในการทำงานของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้ามือง
ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาบทความทางวิชาการ เรื่องปัญหาสิทธิในการทำงานของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้ามือง        
ปัญหาสิทธิในการทำงานของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้ามือง
           หากจะพูดถึงคนต่างด้าวแล้ว ในความหมาย ของพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 คนต่างด้าวหมายถึงบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ส่วนแรงงานต่างด้าว หรือแรงงานข้ามชาติ มี 2 หน่วยงานได้นิยามความหมายไว้ ดังนี้ องค์กรแรงงานระหว่างประเทศได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึงบุคคลที่ย้ายถิ่นจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งเพื่อที่จะไปทำงานมากกว่าที่จะไปใช้จ่ายเงินของตนเองและรวมถึงบุคคลใดๆที่โดยปกติแล้วได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้อพยพเพื่อทำงานแต่ไม่รวมถึงคนที่ทำงานตามบริเวณชายแดน จิตรกรหรือสมาชิกของกลุ่มผู้ชำนาญการที่เข้าเมืองระยะสั้น ชาวเรือและลูกเรือเดินทะเลต่างชาติ และในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 143 ยังไม่รวมถึงบุคคลที่เข้ามาเพื่อการศึกษาหรือการฝึกอบรมและบุคคลที่เข้ามาทำงานชั่วคราวเฉพาะด้านอันเนื่องมาจากการร้องขอของนายจ้างในประเทศไทยและต้องออกไปเมื่อเสร็จสิ้นการทำงานนั้นแล้วส่วนองค์การสหประชาชาติได้มีการกำหนดความหมายแรงงานข้ามชาติในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของบรรดาแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัวของเขาเหล่านั้น ไว้ในมาตรา 2 หมายถึง "บุคคลซึ่งจะถูกว่าจ้างให้ทำงาน กำลังถูกว่าจ้าง หรือเคยถูกว่าจ้างทำงานโดยได้รับค่าตอบแทนในรัฐที่ตนไม่ได้เป็นคนของชาตินั้น " ซึ่งเห็นได้ว่าความหมายแรงงานข้ามชาติของสหประชาชาติมีความหมายกว้างกว่าความหมายแรงงานข้ามชาติขององค์การแรงงานระหว่างประเทศมากเพราะได้รวมถึงคนงาน 8 ประเภท ได้แก่ คนงานที่ทำงานตามบริเวณชายแดน คนงานตามฤดูกาลชาวเรือ คนงานที่ทำงานในสถานที่ทำงานนอกประเทศ คนงานที่ทำงานโยกย้ายไปมาคนงานที่ทำงานตามโครงการ คนงานที่มีกิจการของตนเองและคนงานที่ได้รับการว่าจ้างพิเศษให้ไปทำงานในประเทศที่ตนไม่ได้มีสัญชาตินั้นอย่างไรก็ตามก็ยังไม่รวมถึงบุคคลที่เดินทางข้ามประเทศเพื่อทำงานในฐานะที่เป็นผู้ลงทุน (Investor) ผู้ลี้ภัยหรือบุคคลที่ไม่มีสัญชาติ (Refugees Or Stateless Person) นักเรียนนักศึกษา หรือผู้ฝึกอบรม และผู้ที่ทำงานภายใต้การว่าจ้างขององค์การระหว่างประเทศสำหรับในประเทศไทย แรงงานต่างด้าว ที่เข้าเมืองโดยถูกกฎหมายมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภทคือ ประเภททั่วไป หมายถึงคนต่างด้าวที่เป็นแรงงานที่มีทักษะและทำงานอยู่ในตำแหน่งค่อนข้างสูง หรืออาจถูกส่งมาจากบริษัทแม่ในต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยหรือเข้ามาทำงานชั่วคราวในงานที่ต้องใช้ทักษะ และเทคโนโลยีชั้นสูงเป็นความต้องการผู้ที่มีความสามารถเฉพาะด้าน มีความชำนาญเฉพาะด้าน หรือมีความสามารถทางการสื่อสาร (ภาษา) ที่ยังหาคนไทยที่มีความสามารถหรือมีความชำนาญเข้ามาร่วมงานไม่ได้ หรือเป็นการเข้ามา ทำงานในกิจการที่ตนเองลงทุนหรือกิจการของคู่สมรส หรือกิจการที่ร่วมลงทุน เป็นต้นประเภทเข้ามาทำงานอันจำเป็นเร่งด่วน หมายถึง คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานซึ่งเป็นงานที่ต้องดำเนินการโดยทันทีทันใดหากไม่เร่งดำเนินการอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินกิจการของบริษัทหรือลูกค้าของบริษัทหรือส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้นโดยไม่มีแผนการดำเนินการล่วงหน้ามาก่อน และต้องเข้ามาทำงานนั้น ในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน ประเภทตลอดชีพ หมายถึงคนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาตทำงานตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับ ที่ 322 ข้อ 10 (10) มีสาระสำคัญว่า "ใบอนุญาตที่ออกให้แก่คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมาย ว่าด้วยคนเข้าเมืองและทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ให้ใช้ได้ตลอดชีวิตของคนต่างด้าวนั้น เว้นแต่คนต่างด้าวจะเปลี่ยนอาชีพใหม่ประเภทข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานกับประเทศคู่ภาคี ได้แก่ การพิสูจน์สัญชาติหมายถึง แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ได้รับการจัดระบบตามยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ 7 ยุทธศาสตร์ แรงงานนำเข้า หมายถึงคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าวระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่ภาคี (MOU) ปัจจุบันทำข้อตกลงกับประเทศ 2 ประเทศ คือ ลาว และกัมพูชาสำหรับผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 หมายถึงคนต่างด้าวซึ่งยังไม่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งนายจ้างยื่นคำขอรับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมแทนโดยเข้ามาทำงานที่มีทักษะและตำแหน่งค่อนข้างสูงหรืองานที่ต้องใช้ทักษะและเทคโนโลยีชั้นสูงเป็นผู้ที่มีความสามารถหรือความชำนาญเฉพาะด้าน หรือมีความสามารถทางการสื่อสาร (ภาษา) ที่ยังหาคนไทยที่มีความสามารถหรือ มีความชำนาญเข้ามาร่วมงานไม่ได้เมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ต้องดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตทำงานภายใน 30 วันส่วน ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 13 (1) และ (2) หมายถึง คนต่างด้าว ต่อไปนี้ (1) หมายถึง คนต่างด้าวถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ และได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ ณที่แห่งใดแทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ (2) หมายถึงคนต่างด้าวที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองแต่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 14 หมายถึงคนต่างด้าวซึ่งมีภูมิลำเนาและเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทยถ้าได้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองอาจได้รับอนุญาตให้ทำงานบางประเภทหรือลักษณะงานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหรือตามฤดูกาลที่กำหนดได้ทั้งนี้เฉพาะการทำงานภายในท้องที่ที่อยู่ติดกับชายแดนหรือท้องที่ต่อเนื่องกับท้องที่ดังกล่าวผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 12 หมายถึงคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายพิเศษ ได้แก่กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และกฎหมายอื่นเช่น พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรมเป็นต้น
          ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วไม่ว่าในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ทำให้มีผลกระทบต่อตลาดแรงงานของประเทศไทยเนื่องจากตลาดแรงงานของไทย มีไม่เพียงพอ ในสภาวะที่ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือแรงงานต่างด้าวจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาในการใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมทำให้เกิดปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งแรงงานต่างด้าวนี้มักจะมาจากประเทศเพื่อนบ้าน 3 สัญชาติ คือพม่า ลาว และกัมพูชาทำให้เกิดปัญหาการเมือง เศรษฐกิจสังคมและความมั่นคงและแม้ว่ารัฐบาลไทยจะได้พยายามแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวโดยมีการออกมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้คนต่างด้าวสามสัญชาติที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายทำงานได้ในระหว่างรอการผลักดันในงานบางประเภท เช่นงานประมง งานกรรมกรก่อสร้างและงานกรีดยางพาราเนื่องจากคนไทยไม่นิยมทำเพราะเป็นงานที่หนัก สกปรกและรายได้น้อยทั้งนี้เพื่อมิให้กิจการงานบางอย่างต้องหยุดชะงักไป
          สถานการณ์แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสามสัญชาติคือ พม่า ลาว และกัมพูชาในปัจจุบัน เท่าที่จดทะเบียนและได้รับอนุญาตทำงานมีอยู่จำนวน 668,576 คน (กรมการจัดหางาน, 2550, หน้า 7) และที่ยังไม่ได้จดทะเบียนก็ยังคงมีจำนวนจำนวนไม่น้อย ทั่วประเทศ ประเมินว่ามีแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองรวมกันทั้งที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนประมาณหนึ่งล้านกว่าคน ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบทางสังคมไทยอย่างมากไม่ว่าจะเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงซึ่งหากรัฐบาลไทยไม่สามารถหามาตรการที่เหมาะสมมาใช้ในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวอย่างมีระบบและมีความเหมาะสมกับสถานการณ์แรงงานในปัจจุบัน เพราะปัญหาเรื่องแรงงานเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วย
          ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 เป็นหลักในการควบคุมการเข้ามาทำงานของคนต่างด้าวซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับมาเป็นเวลานานอาจจะไม่เหมาะสมกับสถานการณ์แรงงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าแนวโน้มแรงงานต่างด้าวจะเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมากยิ่งขึ้นทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ประเทศไทย มีสภาพทางเศรษฐกิจดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นแรงผลักดันให้แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาหางานทำเพื่ออนาคตที่ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522 มาตรา 12 ซึ่งบัญญัติว่าห้ามมิให้คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เข้ามาในราชอาณาจักร (3) เข้ามาเพื่อมีอาชีพเป็นกรรมกรหรือเข้ามาเพื่อทำงานอื่นอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวถือว่าบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องดีเป็นการป้องกันปัญหามิให้แรงงานต่างด้าวไร้ฝืมือเข้ามาในประเทศซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมากมาย แต่เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมืออยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะประเภทงานที่หนัก สกปรก และเสี่ยงอันตราย เช่น งานประมง งานกรรมกรก่อสร้างและงานกรีดยางพารา เป็นต้น การที่กฎหมายไทยไปกำหนดห้ามไว้จึงทำให้แรงงานต่างด้าวดังกล่าวเป็นแรงงานต้องห้ามซึ่งจะต้องถูกดำเนินคดีและถูกผลักดันออกไปเป็นสาเหตุให้แรงงานต่างด้าวพวกนี้ต้องหลบหนีเข้าเมืองมาเพื่อทำงานในประเทศไทยทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยง มาตรา 12(3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522
          ส่วนการควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว นั้น พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวพ.ศ.2521 และตามพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำพ.ศ.2522 ซึ่งมีอยู่ 39 อาชีพ ก็ยังมีการห้ามคนต่างด้าวทำงานอาชีพกรรมกรซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวโดยมีการทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านสามสัญชาติ คือประเทศพม่า ลาว และกัมพูชาเพื่อที่จะนำเข้าแรงงานต่างด้าวสามสัญชาติเข้าเมืองโดยถูกกฎหมายมาทำงานในอาชีพกรรมกรได้
           แม้ว่าในปัจจุบันนี้รัฐบาลจะได้พยายามแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวดังกล่าวโดยมีความร่วมมือของกระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติและหน่วยงานอื่น ๆ ให้มีการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนโดยออกเป็นมติคณะรัฐมนตรีให้มีการผ่อนผันแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายสามารถทำงานได้ใน 27 อาชีพ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวพ.ศ.2521 และประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเรื่องกำหนดงานที่ให้คนต่างด้าวตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวพ.ศ.2521 ทำได้ และต่อมาได้มีประกาศกระทรวงแรงงานเรื่องกำหนดงานที่ให้คนต่างด้าวตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวพ.ศ.2521 ทำได้ (ฉบับที่ 14) 3
           ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2547 โดยกำหนดให้คนต่างด้าวสามสัญชาติคือ พม่า ลาว และกัมพูชาที่หลบหนีเข้าเมืองและอยู่ระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรซึ่งกระทรวงแรงงานได้จัดระบบบริหารจัดการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษทำได้ 2 ประเภทงาน คือ 1.งานรับใช้ในบ้าน และ 2.งานกรรมกรแต่คงจะต้องยอมรับว่าประเทศไทยจะยังคงมีแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองมาทำงานในสังคมไทยอีกยาวนานซึ่งจะเห็นได้ว่าแรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้นได้ก่อให้เกิดผลดีและผลเสียต่อการพัฒนาประเทศจึงควรที่จะมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองเพื่อทำงานในอาชีพกรรมกรได้อย่างเหมาะสมและหามาตรการในการควบคุมแรงงานต่างด้าวเหล่านี้เพื่อมิให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนาประเทศไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจสังคม การเมืองและความมั่นคงของประเทศในระยะยาว
          สำหรับกรณีแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายแม้รัฐจะประกาศว่าแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองเมื่อได้จดทะเบียนและได้รับอนุญาตทำงานแล้ว จะได้รับค่าแรงงานสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานรวมถึงสวัสดิการและมีสิทธิร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานแต่ความเป็นจริง ปรากฏว่า แรงงานต่างด้าวจำนวนมากไม่ได้รับสวัสดิการอย่างใดและไม่มีสิทธิลาหยุดตามกฎหมายได้
          ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้เขียนจึงศึกษาปัญหาการเข้าเมืองของคนต่างด้าวซึ่งหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายจะมีสิทธิได้รับการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างไรและได้รับความคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายแรงงานของไทยอย่างไรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและไม่เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ปัญหาแรงงานต่างด้าวและกฎหมาย
          ปัญหาแรงงานต่างด้าวเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลแก้ไม่ตกแม้ว่าหลายรัฐบาลที่ผ่านมาจะพยายามหาทางออกด้วยการผ่อนผันให้มีการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาอยู่ในระบบอย่างถูกกฎหมายจัดให้มีการการขึ้นทะเบียน ทำบัตรประจำตัวคนต่างด้าว แต่ปัญหาต่าง ๆก็ยังมีอยู่ไม่ได้หายไปยิ่งรัฐบาลเปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าวจดทะเบียนทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมาย
จำนวนแรงงานต่างด้าวก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่มีอยู่ 2-3 แสนคนก็เพิ่มขึ้นเป็น 1.3 ล้านคนและถ้ารวมแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยแบบผิดกฎหมายด้วยตัวเลขจะพุ่งเป็น 2 ล้านคน
         ในจังหวัดตรังก็ยังมีแรงงานต่างด้าวชาวพม่ามาทำงานเป็นลูกเรือประมงหลายคนหรืออยู่ตามโรงงานหลายคนเช่นกันเพื่อให้ได้ทราบว่าแรงงานต่างด้าวประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง
พอสรุปได้ดังนี้แรงงานต่างด้าวที่มาขึ้นทะเบียนจะได้รับบัตรอนุญาตแรงงานต่างด้าวแยกประเภทเป็นสี 6 ประเภทประกอบด้วย
                        1. อาชีพประมงบัตรสีฟ้า
                        2. อาชีพเกษตรกรบัตรสีเขียว
                        3. อาชีพก่อสร้างบัตรสีเหลือง
                        4. อาชีพธุรกิจต่อเนื่องประมงบัตรสีส้ม
                        5. อาชีพผู้รับใช้ในบ้านบัตรสีเท
                        6. อาชีพอื่นๆ อีก 19 กิจการ เช่น กิจการ
ต่อเนื่องทางการเกษตรโรงฆ่าสัตว์โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา โรงกลึง โรงหล่อ กิจการผลิตจำหน่ายอาหารเครื่องดื่มกิจการผลิตจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซักอบรีด ฯลฯเป็นบัตรสีชมพูโดยแรงงานต่างด้าวถือบัตรสีใด ต้องประกอบอาชีพนั้นตลอดห้ามย้ายอาชีพหากฝ่าฝืนนายทะเบียนสามารถเพิกถอนใบอนุญาตได้ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวพ.ศ. 2551 มาตรา 28 และหากฝ่าฝืนเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดไว้อาจถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาทตาม มาตรา 52
บทลงโทษแรงงานต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
          พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 มาตรา 51 บัญญัติว่าคนต่างด้าวผู้ใดทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท ถึง 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
          ในกรณีที่คนต่างด้าวซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามวรรคหนึ่งยินยอมเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายในเวลาที่พนังกานสอบสวนกำหนดซึ่งต้องไม่ช้ากว่า 30 วันพนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับและดำเนินการให้คนต่างด้าวนั้นเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรก็ได้
บทลงโทษนายจ้างที่รับแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน
          พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวพ.ศ. 2551 มาตรา 27 ห้ามมิให้บุคคลได้รับคนต่างด้าวเข้าทำงานเว้นแต่คนต่างด้าวซึ่งมีใบอนุญาตทำงานกับตนเพื่อทำงานตามประเภทหรือลักษณะงานที่ระบุไว้ในใบอนุญาตณ ท้องที่หรือสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
          มาตรา54 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทและถ้าคนต่างด้าวนั้นไม่มีใบอนุญาตผู้กระทำต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000  บาทถึง 100,000 บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน
บทลงโทษตามกฎหมายอื่น
          พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 63 ผู้ใดนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรหรือกระทำด้วยประการใด ๆอันเป็นการอุปการะหรือช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่คนต่างด้าวให้เข้ามาในราชอาณาจักรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท
          เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา23 และภายในพาหนะนั้นมีคนต่างด้วยซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมายนี้ให้สันนิฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของยานพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะนั้นได้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าคนไม่สามารถรู้ได้ว่าภายในพาหนะนั้นมีคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่แม้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
          พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 64ผู้ใดรู้ว่าคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ให้เข้าพักอาศัยซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใด ๆเพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุมต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกิน 50,000 บาท
          ผู้ใดให้คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้เข้าพักอาศยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นรู้ว่าคนต่างด้าวดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าคนไม่รู้โดยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
          ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อช่วยบิดามารดาบุตรหรือสามีหรือภริยาของผู้กระทำศาลจะไม่ลงโทษก็ได้
          พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 81 คนต่างด้าวผู้ใดอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือการอนุมัติสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับจะเห็นได้ว่ากฎหมายเอาโทษทั้งคนต่างด้าวที่เข้ามาในไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตและคนไทยที่นำเข้ามาหรือให้พักอาศัยหรือช่วยเหลือใดๆก็ตามทางที่ดีควรให้คนต่างด้าวไปขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องเรียบร้อยจะได้มีสิทธิเหมือนลูกจ้างคนไทยทุกประการ
           ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 ประกาศใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้วซึ่งกฎหมายดังกล่าวใช้เป็นกฎหมายหลักในการควบคุมและการทำงานของคนต่างด้าวบางกรณีกฎหมายก็ไม่ค่อยจะมีความสอดคล้องกันนักในปัจจุบัน เป็นต้นว่าคนต่างด้าวจะเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อทำงานในงานกรรมกรไม่ได้ ตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ทำให้คนต่างด้าวในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานในงานกรรมกรหรือใช้แรงงานกายจะต้องหลบหนีเข้าเมืองมาทำงาน โดยมีพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 12 เปิดช่องให้คนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองและอยู่ระหว่างรอการส่งกลับขออนุญาตทำงานได้ในงานกรรมกรประกอบประกาศกระทรวงแรงงานซึ่งกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ให้คนต่างด้าวสามสัญชาติคือ พม่า ลาวและกัมพูชาทำงานได้ในงานรับใช้ในบ้าน กับงานกรรมกร
         จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้พัฒนาประเทศจากโครงสร้างเกษตรกรรม มาสังคมอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวทุกภาคส่วนความจำเป็นในการที่จะต้องใช้แรงงานกรรมกร ไม่ว่าจะเป็นแรงงานก่อสร้างหรือโรงงานอุตสาหกรรม จึงมีเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถจัดหาแรงงานไทยมาทำได้เนื่องจากคนไทยไม่นิยมทำ เพราะเป็นงานที่มีอันตราย สกปรก และมีความยากลำบากประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานไทยทำงานประเภทงานกรรมกรใช้แรงงานอยู่เป็นจำนวนมากนายจ้างและผู้ประกอบการซึ่งประสบปัญหาเช่นนี้ จึงได้มีส่วนผลักดันร้องขอให้รัฐบาลช่วยเหลือโดยรัฐบาลได้ดำเนินการออกเป็นมติคณะรัฐมนตรีให้ผ่อนผันแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองทำงานในอาชีพกรรมกรได้ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวเริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2535 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิงเว็บไซต์http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=7269&filename=N_Article_all
                 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น